การออกแบบโลโก้
การออกแบบเครื่องหมายและสัญลักษณ์(โลโก้)
การออกแบบเครื่องหมายและสัญลักษณ์
สื่อที่เป็นภาพสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายภาพ เป็นสื่อที่มีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน ถ้าเรามองไป
รอบๆ ตัวจะเห็นสื่อที่เป็นเครื่องหมายภาพปรากฏอยู่ทั่วไป
การนำหลักทฤษฎีมาประยุกต์ในการออกแบบสื่อสัญลักษณ์
การออกแบบสัญลักษณ์
นักออกแบบจะต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างยิ่งในการวิเคราะห์เนื้อหาของสารที่จะต้องการสื่อความ
หมาย และสังเคราะห์ให้เป็นรูปลักษณ์ที่ใช้เป็นสิ่งแทนอันสามารถจะบอกได้ถึงความหมาย ทั้งยังต้องใช้ความสามารถในการเขียนภาพ หรือผลิตภาพสัญลักษณ์ให้ประณีตคมชัด เพื่อสื่อความหมายได้ถูกต้องชัดเจน
ในการออกแบบสัญลักษณ์ นักออกแบบจะมีแหล่งบันดาลใจสำคัญ 2 ประการคือ
1. จากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (Natural Form) ได้แก่ ภาพดอกไม้ ใบไม้ ภูเขา ทะเล คน สัตว์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯลฯ จัดเป็นสัญลักษณ์ที่เกิดจากธรรมชาติ (Natural Symbol)
2. จากรูปแบบที่มนุษย์สร้าง (Manmade Form) ได้แก่ อาคารบ้านเรือน เครื่องใช้ สิ่งของต่าง ๆ เรียกว่า สัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น (Conventional Symbol)
นอกจากนี้การออกแบบสัญลักษณ์ให้บรรลุเป้าหมาย นักออกแบบควรคำนึงถึงหลักสำคัญ 3 ประการคือ
1. ความงามของสัญลักษณ์ จะต้องเกี่ยวโยงกับสุนทรียภาพ (Aesthetic Form) คือความงดงามของรูปแบบของสัญลักษณ์ไม่ว่าจะเป็น Representation หรือ Abstract ก็ตาม
2. ต้องเหมาะสมกับกาลเวลาทุกยุคทุกสมัย ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นความนิยมชั่วคราว
3. ต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ สามารถลอกเลียนด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การย่อหรือขยายได้
จากการพิจารณาถึงสื่อสัญลักษณ์ที่มีอยู่ทั่วไปแล้ว เราพอจะแยกประเภทตามลักษณะเฉพาะ อาจแบ่งได้เป็น
1. ภาพเครื่องหมายจราจร เป็นกติกาสากลซึ่งเข้าใจร่วมกันทั่วไป เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยานพาหนะ
เครื่องหมายภาพจราจรจะแสดงถึงสัญลักษณ์การใช้รถใช้ถนนในลักษณะต่าง ๆ กัน การออกแบบจะเน้นความชัด
เจนของการสื่อความหมาย เข้าใจง่าย สีสันสะดุดตา
2. เครื่องหมายสถาบัน สมาคม และกลุ่มต่างๆ ซึ่งกำหนดรูปแบบเพื่อแทนหรือเป็นสัญลักษณ์ของหน่วย
งานนั้นๆ
3. เครื่องหมายบริษัท สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น กระตุ้นความน่าสนใจในบริษัท
การค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ และยังเป็นการเน้นถึงคุณภาพที่น่าเชื่อถือด้วยรูปลักษณ์ของเครื่องหมายที่ปรากฏ
4. ภาพเครื่องหมายสถานที่ เป็นเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์สถานที่ต่าง ๆ ที่แสดงให้เข้าใจร่วมกันได้
โดยไม่ต้องใช้ตัวหนังสือหรือข้อความ ซึ่งบางครั้งอาจสื่อได้ยากกว่าการใช้สัญลักษณ์ เช่น โรงพยาบาล สนามบิน สถานีรถไฟ ห้องน้ำ
5. ภาพเครื่องหมายกิจกรรมต่างๆ เช่น การกีฬา การก่อสร้าง การประชุม
6. เครื่องหมายที่ใช้ในการออกแบบ เขียนแบบ เป็นเครื่องหมายภาพที่ใช้สื่อความหมายร่วมกันระหว่างผู้
ออกแบบเขียนแบบแปลน และผู้อ่านแบบหรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะของสัญลักษณ์ดังกล่าว แบ่งตามลักษณะของประเภทหรือเครื่องหมาย แต่ถ้าเราพิจารณาถึงการออกแบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทุกลักษณะ อาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะและวิธีการออกแบบได้ 3 ประเภท คือ
1.ลักษณะแบบตัวอักษร (Letter marks) ได้แก่ การออกแบบสัญลักษณ์โดยอาศัยรูปแบบตัวอักษรมา
ประดิษฐ์จัดวางให้สวยงาม ชัดเจน การออกแบบอาจจะใช้เฉพาะตัวอักษรหรือคำย่อของหน่วยงาน บริษัทหรือ
สถาบันองค์การต่างๆ มาใช้
2.ลักษณะแบบภาพ (Pictograph) คือ การออกแบบสัญลักษณ์โดยใช้รูปภาพเป็นแนวคิดในการออกแบบ ภาพอาจเป็นการแสดงทิศทาง กิจกรรม การกระทำ หรือภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ
3.ลักษณะแบบผสมผสาน (Combination Marks) คือการออกแบบภาพสัญลักษณ์ โดยนำเอารูปแบบ
ตัวอักษรกับรูปภาพมาประกอบกันในการออกแบบอย่างสัมพันธ์กันและเหมาะสม
แนวคิดในการออกแบบ
ในการออกแบบสัญลักษณ์ ควรจะยึดหลักกว้าง ๆ เพื่อเป็นแนวคิด ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับความงาม
2. แนวคิดเกี่ยวกับความหมาย
3. แนวคิดในการสร้างความเด่นและน่าสนใจ
4. ความเหมาะสมในการออกแบบและการใช้งาน
วิธีการออกแบบสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ในทุกลักษณะที่ทำการออกแบบ ผู้ออกแบบควรจะพิจารณาให้ชัดเจนก่อนว่างานออกแบบนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้ผลงานออกแบบสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยง่าย มีความชัดเจน สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี ภาพเครื่องหมายสามารถนำไปใช้งานได้หลายลักษณะ มีรูปแบบที่น่าเชื่อถือ เกิดจาก
ความเชื่อมั่นและยอมรับ มีความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ผู้ออกแบบจะละเลยไม่ได้
ขั้นตอนการออกแบบ
1.ศึกษารวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวคิดในการออกแบบ
2.กำหนดแนวคิดหลักโดยใช้ข้อมูลเบื้องต้นเป็นบรรทัดฐาน
3.เลือกหาสิ่งดลใจในการออกแบบ อาจเป็นรูปทรงเรขาคณิต รูปทรงอิสระ หรือสิ่งในธรรมชาติ
4.กำหนดรูปร่างภายนอก
5.ร่างภาพเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมโดยการร่างไว้หลาย ๆ แบบ
6.ลดทอนรายละเอียด
7.ร่างแบบเขียนสี
8.เขียนแบบจริง
ในความเป็นจริง เราพบเห็นสัญลักษณ์ที่มีผู้ออกแบบไว้แล้ว และมีการนำมาใช้อยู่โดยทั่วไป ซึ่งเราอาจนำภาพสัญลักษณ์เหล่านั้นมาใช้หรือประยุกต์ หรือเป็นแนวทางในการออกแบบสร้างภาพสัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมายในการเรียนการสอนได้ สัญลักษณ์ที่นำมาใช้อาจเป็นรูปภาพ ตัวหนังสือ ตัวเลข และเครื่องหมายต่าง ๆ เรานำมาใช้ได้ทุกเนื้อหาวิชา ให้เหมาะสมและสามารถสื่อความหมายได้ตรงจุดประสงค์ที่สุด
ที่มา : “ เทคนิคการออกแบบกราฟิก” พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์
keyword : การออกแบบเครื่องหมายและสัญลักษณ์,การออกแบบเครื่องหมาย,การออกแบบสัญลักษณ์,การออกแบบโลโก้,โลโก้
ประเภทของสัญลักษณ์
ประเภทสัญลักษณ์ ตามลักษณะของการนำไปใช้งานใช้งาน ดังนี้
1. สัญลักษณ์ (Symbol)
2. เครื่องหมายภาพ (pictograph)
3. ตราสัญลักษณ์ (Logo)
4. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark)
5. สัญลักษณ์นำโชค (Msscor)
6. พระราชลัญจกรและสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง
7. ตราสัญลักษณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
(ที่มา การออกแบบสัญลักษณ์ (logo) ทองเจือ เขียดทอง )
หลักการออกแบบสัญลักษณ์
1. องค์ประกอบของการออกแบบ (element of design)
2. หลักการออกแบบ
2.1
ความเป็นเอกภาพ (unity)
2.2
ความสมดุล (balance)
- ความสมดุลแบบเหมือนกัน
- ความสมดุลแบบไม่เหมือนกัน
- ความสมดุลแบบรัศมี
2.3
ความกลมกลืน (harmony)
2.4
การซ้ำ (repetition)
2.5
การลดหลั่น (gradation)
2.6
จุดเด่น (dominance)
คุณลักษณะของสัญลักษณ์ที่ดี
1. มีความหมายสื่อถึงสินค้าได้ดี 10. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย
2. เหมาะสมกับการนำไปเป็นสื่อต่างๆ 11. มีความเป็นเอกภาพ
3. มีความร่วมสมัย
4. ให้ความน่าเชื่อถือในคุณภาพของสินค้า
5. มีเอกลักษณ์ของตนเองไม่ซ้ำใคร
6. มีการใช้สีเหมาะกับสินค้า
7. มีความเรียบง่ายสร้างความจดจำได้ดี
8. มีความเป็นสากลสื่อได้กับคนหลายกลุ่ม
9. เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย (ระดับความเป็นนามธรรม)
ขอขอบคุณที่มาจาก : http://man42man.blogspot.com
การออกแบบเครื่องหมายและสัญลักษณ์
สื่อที่เป็นภาพสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายภาพ เป็นสื่อที่มีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน ถ้าเรามองไป
รอบๆ ตัวจะเห็นสื่อที่เป็นเครื่องหมายภาพปรากฏอยู่ทั่วไป
การนำหลักทฤษฎีมาประยุกต์ในการออกแบบสื่อสัญลักษณ์
การออกแบบสัญลักษณ์
นักออกแบบจะต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างยิ่งในการวิเคราะห์เนื้อหาของสารที่จะต้องการสื่อความ
หมาย และสังเคราะห์ให้เป็นรูปลักษณ์ที่ใช้เป็นสิ่งแทนอันสามารถจะบอกได้ถึงความหมาย ทั้งยังต้องใช้ความสามารถในการเขียนภาพ หรือผลิตภาพสัญลักษณ์ให้ประณีตคมชัด เพื่อสื่อความหมายได้ถูกต้องชัดเจน
ในการออกแบบสัญลักษณ์ นักออกแบบจะมีแหล่งบันดาลใจสำคัญ 2 ประการคือ
1. จากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (Natural Form) ได้แก่ ภาพดอกไม้ ใบไม้ ภูเขา ทะเล คน สัตว์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯลฯ จัดเป็นสัญลักษณ์ที่เกิดจากธรรมชาติ (Natural Symbol)
2. จากรูปแบบที่มนุษย์สร้าง (Manmade Form) ได้แก่ อาคารบ้านเรือน เครื่องใช้ สิ่งของต่าง ๆ เรียกว่า สัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น (Conventional Symbol)
นอกจากนี้การออกแบบสัญลักษณ์ให้บรรลุเป้าหมาย นักออกแบบควรคำนึงถึงหลักสำคัญ 3 ประการคือ
1. ความงามของสัญลักษณ์ จะต้องเกี่ยวโยงกับสุนทรียภาพ (Aesthetic Form) คือความงดงามของรูปแบบของสัญลักษณ์ไม่ว่าจะเป็น Representation หรือ Abstract ก็ตาม
2. ต้องเหมาะสมกับกาลเวลาทุกยุคทุกสมัย ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นความนิยมชั่วคราว
3. ต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ สามารถลอกเลียนด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การย่อหรือขยายได้
จากการพิจารณาถึงสื่อสัญลักษณ์ที่มีอยู่ทั่วไปแล้ว เราพอจะแยกประเภทตามลักษณะเฉพาะ อาจแบ่งได้เป็น
1. ภาพเครื่องหมายจราจร เป็นกติกาสากลซึ่งเข้าใจร่วมกันทั่วไป เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยานพาหนะ
เครื่องหมายภาพจราจรจะแสดงถึงสัญลักษณ์การใช้รถใช้ถนนในลักษณะต่าง ๆ กัน การออกแบบจะเน้นความชัด
เจนของการสื่อความหมาย เข้าใจง่าย สีสันสะดุดตา
2. เครื่องหมายสถาบัน สมาคม และกลุ่มต่างๆ ซึ่งกำหนดรูปแบบเพื่อแทนหรือเป็นสัญลักษณ์ของหน่วย
งานนั้นๆ
3. เครื่องหมายบริษัท สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น กระตุ้นความน่าสนใจในบริษัท
การค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ และยังเป็นการเน้นถึงคุณภาพที่น่าเชื่อถือด้วยรูปลักษณ์ของเครื่องหมายที่ปรากฏ
4. ภาพเครื่องหมายสถานที่ เป็นเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์สถานที่ต่าง ๆ ที่แสดงให้เข้าใจร่วมกันได้
โดยไม่ต้องใช้ตัวหนังสือหรือข้อความ ซึ่งบางครั้งอาจสื่อได้ยากกว่าการใช้สัญลักษณ์ เช่น โรงพยาบาล สนามบิน สถานีรถไฟ ห้องน้ำ
5. ภาพเครื่องหมายกิจกรรมต่างๆ เช่น การกีฬา การก่อสร้าง การประชุม
6. เครื่องหมายที่ใช้ในการออกแบบ เขียนแบบ เป็นเครื่องหมายภาพที่ใช้สื่อความหมายร่วมกันระหว่างผู้
ออกแบบเขียนแบบแปลน และผู้อ่านแบบหรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะของสัญลักษณ์ดังกล่าว แบ่งตามลักษณะของประเภทหรือเครื่องหมาย แต่ถ้าเราพิจารณาถึงการออกแบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทุกลักษณะ อาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะและวิธีการออกแบบได้ 3 ประเภท คือ
1.ลักษณะแบบตัวอักษร (Letter marks) ได้แก่ การออกแบบสัญลักษณ์โดยอาศัยรูปแบบตัวอักษรมา
ประดิษฐ์จัดวางให้สวยงาม ชัดเจน การออกแบบอาจจะใช้เฉพาะตัวอักษรหรือคำย่อของหน่วยงาน บริษัทหรือ
สถาบันองค์การต่างๆ มาใช้
2.ลักษณะแบบภาพ (Pictograph) คือ การออกแบบสัญลักษณ์โดยใช้รูปภาพเป็นแนวคิดในการออกแบบ ภาพอาจเป็นการแสดงทิศทาง กิจกรรม การกระทำ หรือภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ
3.ลักษณะแบบผสมผสาน (Combination Marks) คือการออกแบบภาพสัญลักษณ์ โดยนำเอารูปแบบ
ตัวอักษรกับรูปภาพมาประกอบกันในการออกแบบอย่างสัมพันธ์กันและเหมาะสม
แนวคิดในการออกแบบ
ในการออกแบบสัญลักษณ์ ควรจะยึดหลักกว้าง ๆ เพื่อเป็นแนวคิด ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับความงาม
2. แนวคิดเกี่ยวกับความหมาย
3. แนวคิดในการสร้างความเด่นและน่าสนใจ
4. ความเหมาะสมในการออกแบบและการใช้งาน
วิธีการออกแบบสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ในทุกลักษณะที่ทำการออกแบบ ผู้ออกแบบควรจะพิจารณาให้ชัดเจนก่อนว่างานออกแบบนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้ผลงานออกแบบสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยง่าย มีความชัดเจน สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี ภาพเครื่องหมายสามารถนำไปใช้งานได้หลายลักษณะ มีรูปแบบที่น่าเชื่อถือ เกิดจาก
ความเชื่อมั่นและยอมรับ มีความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ผู้ออกแบบจะละเลยไม่ได้
ขั้นตอนการออกแบบ
1.ศึกษารวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวคิดในการออกแบบ
2.กำหนดแนวคิดหลักโดยใช้ข้อมูลเบื้องต้นเป็นบรรทัดฐาน
3.เลือกหาสิ่งดลใจในการออกแบบ อาจเป็นรูปทรงเรขาคณิต รูปทรงอิสระ หรือสิ่งในธรรมชาติ
4.กำหนดรูปร่างภายนอก
5.ร่างภาพเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมโดยการร่างไว้หลาย ๆ แบบ
6.ลดทอนรายละเอียด
7.ร่างแบบเขียนสี
8.เขียนแบบจริง
ในความเป็นจริง เราพบเห็นสัญลักษณ์ที่มีผู้ออกแบบไว้แล้ว และมีการนำมาใช้อยู่โดยทั่วไป ซึ่งเราอาจนำภาพสัญลักษณ์เหล่านั้นมาใช้หรือประยุกต์ หรือเป็นแนวทางในการออกแบบสร้างภาพสัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมายในการเรียนการสอนได้ สัญลักษณ์ที่นำมาใช้อาจเป็นรูปภาพ ตัวหนังสือ ตัวเลข และเครื่องหมายต่าง ๆ เรานำมาใช้ได้ทุกเนื้อหาวิชา ให้เหมาะสมและสามารถสื่อความหมายได้ตรงจุดประสงค์ที่สุด
ที่มา : “ เทคนิคการออกแบบกราฟิก” พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์
keyword : การออกแบบเครื่องหมายและสัญลักษณ์,การออกแบบเครื่องหมาย,การออกแบบสัญลักษณ์,การออกแบบโลโก้,โลโก้
ประเภทของสัญลักษณ์
ประเภทสัญลักษณ์ ตามลักษณะของการนำไปใช้งานใช้งาน ดังนี้
1. สัญลักษณ์ (Symbol)
2. เครื่องหมายภาพ (pictograph)
3. ตราสัญลักษณ์ (Logo)
4. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark)
5. สัญลักษณ์นำโชค (Msscor)
6. พระราชลัญจกรและสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง
7. ตราสัญลักษณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
(ที่มา การออกแบบสัญลักษณ์ (logo) ทองเจือ เขียดทอง )
หลักการออกแบบสัญลักษณ์
1. องค์ประกอบของการออกแบบ (element of design)
2. หลักการออกแบบ
2.1
ความเป็นเอกภาพ (unity)
2.2
ความสมดุล (balance)
- ความสมดุลแบบเหมือนกัน
- ความสมดุลแบบไม่เหมือนกัน
- ความสมดุลแบบรัศมี
2.3
ความกลมกลืน (harmony)
2.4
การซ้ำ (repetition)
2.5
การลดหลั่น (gradation)
2.6
จุดเด่น (dominance)
คุณลักษณะของสัญลักษณ์ที่ดี
1. มีความหมายสื่อถึงสินค้าได้ดี 10. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย
2. เหมาะสมกับการนำไปเป็นสื่อต่างๆ 11. มีความเป็นเอกภาพ
3. มีความร่วมสมัย
4. ให้ความน่าเชื่อถือในคุณภาพของสินค้า
5. มีเอกลักษณ์ของตนเองไม่ซ้ำใคร
6. มีการใช้สีเหมาะกับสินค้า
7. มีความเรียบง่ายสร้างความจดจำได้ดี
8. มีความเป็นสากลสื่อได้กับคนหลายกลุ่ม
9. เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย (ระดับความเป็นนามธรรม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น